ปัจจัยที่ส่งผลต่อการทำงานของ Epigenetic

อ่านแล้ว 5 นาที
แสดงบทความเพิ่มเติม
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการทำงานของ Epigenetic

Epigenetic เป็นศาสตร์ในการศึกษาการเปลี่ยนแปลงการแสดงออกของยีนที่เกิดขึ้นโดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงลำดับ DNA แต่ถูกควบคุมโดยปัจจัยต่างๆ ทั้งจากภายในและภายนอกร่างกาย การศึกษาเกี่ยวกับ Epigenetic ได้รับความสนใจอย่างมากในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา เนื่องจากมีความเกี่ยวข้องกับการพัฒนาของโรคต่างๆ รวมถึงกระบวนการชราภาพ

ความหมายของ Epigenetic

Epigenetic มาจากคำว่า "epi" ซึ่งแปลว่า "บน" หรือ "เพิ่มเติม" และ "genetic" ที่เกี่ยวข้องกับพันธุกรรม โดยรวมแล้ว Epigenetic หมายถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับการแสดงออกของยีน โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงลำดับ DNA แต่เป็นการปรับเปลี่ยนที่เกิดจากปัจจัยต่างๆ ทั้งจากสิ่งแวดล้อมและพฤติกรรมการใช้ชีวิต

กระบวนการทำงานของ Epigenetic

กระบวนการทำงานของ Epigenetic ประกอบด้วยการเปลี่ยนแปลงหลักๆ 3 รูปแบบ:

  • DNA Methylation: การเติมหมู่เมทิล (CH3) เข้าไปที่ DNA ส่งผลให้ยีนถูกปิดการทำงาน
  • Histone Modification: การปรับเปลี่ยนโปรตีนฮิสโตนที่ห่อหุ้ม DNA ทำให้การเข้าถึง DNA เปลี่ยนแปลงไป
  • Non-coding RNA: RNA ที่ไม่ได้แปลรหัสเป็นโปรตีนแต่มีบทบาทในการควบคุมการแสดงออกของยีน

ปัจจัยภายนอกที่ส่งผลต่อ Epigenetic

โภชนาการ

อาหารและสารอาหารมีผลต่อการเปลี่ยนแปลง Epigenetic อย่างมีนัยสำคัญ งานวิจัยพบว่าสารอาหารบางชนิดก็ผลต่อ Epigenetic ด้วยเช่นกัน

  • วิตามิน B12 และโฟเลต
  • สารต้านอนุมูลอิสระ
  • สารประกอบ Polyphenol จากพืช
  • โปรตีนและกรดอะมิโน
  • ไขมันโอเมก้า-3

 

สิ่งแวดล้อม

มลภาวะ สารเคมี และการสัมผัสกับสารพิษ โดยสิ่งแวดล้อมที่มีผลกระทบต่อ Epigenetic ได้แก่

  • มลพิษทางอากาศ
  • โลหะหนัก
  • สารกำจัดศัตรูพืช
  • รังสียูวี
  • สารเคมีที่ใช้ในชีวิตประจำวัน

 

พฤติกรรมการใช้ชีวิต

การออกกำลังกาย การสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ และความเครียด ซึ่งพฤติกรรมต่างๆ จะส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลง Epigenetic โดยตรง เช่น

  • การออกกำลังกายสม่ำเสมอช่วยปรับการทำงานของ Epigenetic ในทางที่ดี
  • การสูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์ส่งผลเสียต่อการทำงานของ Epigenetic
  • ความเครียดเรื้อรังทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง Epigenetic ที่ไม่พึงประสงค์

ปัจจัยภายในที่ส่งผลต่อ Epigenetic

ฮอร์โมน: การเปลี่ยนแปลงระดับฮอร์โมนและผลต่อการแสดงออกของยีน ซึ่งฮอร์โมนต่างๆ มีผลต่อการควบคุม Epigenetic เช่น

  • ฮอร์โมนเพศ
  • ฮอร์โมนความเครียด
  • ฮอร์โมนการเจริญเติบโต
  • ฮอร์โมนที่ควบคุมเมตาบอลิซึม

อายุ: การเปลี่ยนแปลง Epigenetic ที่เกิดขึ้นตามวัย การศึกษาพบว่าอายุที่เพิ่มขึ้นส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลง Epigenetic ในหลายรูปแบบ:

  • การลดลงของ DNA methylation
  • การเปลี่ยนแปลงรูปแบบของ histone modification
  • การสะสมความผิดปกติของ Epigenetic ตามอายุที่เพิ่มขึ้น

พันธุกรรม: ความสัมพันธ์ระหว่างพันธุกรรมและ Epigenetic พันธุกรรมและ Epigenetic ไม่ใช่สิ่งเดียวกันแต่มีความสัมพันธ์กันค่อนข้างใกล้ชิด

  • ความแปรผันทางพันธุกรรมสามารถส่งผลต่อการทำงานของ Epigenetic
  • การเปลี่ยนแปลง Epigenetic สามารถถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่นได้
  • ปฏิสัมพันธ์ระหว่างยีนและสิ่งแวดล้อมผ่านทาง Epigenetic

ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลง Epigenetic ต่อสุขภาพ

การเปลี่ยนแปลง Epigenetic ส่งผลต่อสุขภาพในหลายด้าน เช่น

  • การพัฒนาของโรคมะเร็ง
  • โรคระบบภูมิคุ้มกัน
  • โรคเมตาบอลิก
  • โรคระบบประสาท
  • กระบวนการชราภาพ

การใช้นวัตกรรม Epigenetic เพื่อสุขภาพที่ดีและคงความเยาว์วัย

นวัตกรรมด้าน Epigenetic กำลังได้รับการพัฒนามากขึ้นเรื่อยๆ ส่งผลมาจากการวิจัยต่างๆที่ทำอย่างต่อเนื่อง รวมไปถึงห้องทดลองของ Eucerin

  1. นวัตกรรมต่อต้านริ้วรอย: จากการวิจัยเกี่ยวกับ Epigenetics อย่างต่อเนื่องกว่า 15 ปี ทีมนักวิทยาศาสตร์ ของ Eucerin ค้นพบ Epicelline สารสำคัญที่ช่วยลดเลือนริ้วรอยแห่งวัยและฟื้นฟูความอ่อนเยาว์ของผิว จากการศึกษาพบว่า Epicelline สามารถช่วยชะลอความร่วงโรยของผิว ทั้งริ้วรอย หน้าเหี่ยว ผิวไม่กระชับและทำให้ดูอ่อนเยาว์ได้ภายใน 4 สัปดาห์
  2. งานวิจัยล่าสุดจาก Nature.com และ NCBI แสดงให้เห็นว่า:
    • การควบคุมอาหารและการออกกำลังกายที่เหมาะสมสามารถปรับการทำงานของ Epigenetic ในทางที่ดี
    • การใช้สารอาหารเฉพาะเพื่อกระตุ้นการทำงานของยีนที่เกี่ยวข้องกับการซ่อมแซมเซลล์
    • การพัฒนายาที่มุ่งเป้าไปที่การควบคุม Epigenetic เพื่อรักษาโรคต่างๆ

อ้างอิง:

  • Nature.com: Epigenetic Influences and Disease (2008)
  • NCBI: Genetics, Epigenetic Mechanism (2023)
  • Environmental Health Perspectives: Epigenetics: The Science of Change (2006)

บทความเกี่ยวข้อง

คุณอาจจะสนใจสิ่งเหล่านี้