Hyperpigmentation เกิดจากการสร้างเม็ดสีที่มากขึ้นเนื่องมา
จากกระบวนการอักเสบของร่างกาย (Post-inflammatory hyperpigmentation) เกิดได้ทั้งบริเวณใบหน้าและลำตัว โดยเป็นกระบวนการที่เกิดตามมาเมื่อผิวหนังเกิดการอักเสบ เช่น การลอกผิว การทำเลเซอร์
สาเหตุ ปัจจัยกระตุ้น และวิธีการดูแล
ทั้งปัจจัยภายใน และปัจจัยภายนอกมีส่วนกระตุ้นให้ผิวหนังผลิตเม็ดสีเมลานินที่มากขึ้น และเกิดมากในบริเวณที่สัมผัสกับแสงแดดบ่อยๆ ซึ่งจุดด่างดำที่เกิดขึ้นมีหลายรูปแบบ เช่น กระ (freckles) ฝ้า (melasma) และจุดด่างดำจากการอักเสบของผิว (Post-inflammatory hyperpigementation, PIH)
PIH ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสีผิว ทั้งสีชมพู น้ำตาล ดำ โดยขึ้นอยู่กับชนิดของสีผิว และเชื้อชาติ
PIH มักเกิดกับคนที่มีสิวอักเสบ หรือเกิดขึ้นหลังการทำเลเซอร์ การลอกหน้า เป็นต้น เกิดขึ้นได้ในทุกสีผิว โดยพบว่าคนสีผิวเข้มมีโอกาสเกิด PIH ได้มากกว่า และมีโอกาสเกิดได้เท่ากันในผู้หญิงและผู้ชาย
ถ้าจุดด่างดำ มีขนาดที่เปลี่ยนแปลงไป แนะนำให้ไปปรึกษา
แพทย์ผิวหนัง เพื่อทำการตรวจ และวินิจฉัยอย่างละเอียด
ภาพแสดงการสร้างเม็ดสีเมลานิน
เมื่อผิวเกิดการอักเสบ จะกระตุ้นให้เซลล์สร้างเม็ดสี ผลิตเม็ดสีที่เพิ่มขี้น
กระบวนการสร้างเม็ดสี เริ่มจากเอนไซม์ไทโรซิเนส (Tyrosinase) ที่อยู่ภายในเมลาโนโซมเปลี่ยนสารตั้งต้นให้เป็นเม็ดสีเมลานิน และเคลื่อนย้ายเม็ดสีเมลานินจาก Melanocytes มาอยู่ที่เซลล์ผิวหนังชั้นบน
PIH พบได้บ่อยใคนที่เป็นสิวอักเสบ โดยเมื่อสิวเกิดกระบวนการ
อักเสบขึ้น มักจะทำให้เกิดรอยแดง และรอยดำตามมา นอกจากนั้นแสงแดดยังกระตุ้นให้รอยดำเกิดมากขึ้น และอยู่นานมากขึ้น
รอยดำจาก PIH แม้ไม่ได้รับการรักษา ก็สามารถจางลงได้
แต่ต้องใช้ระยะเวลานานตั้งแต่ 3 เดือน – 1 ปี แตกต่างไปในแต่ละบุคคล การเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ช่วยลดเลือนรอยดำ และฟื้นบำรุงผิวให้กระจ่างใส จึงมีส่วนช่วยให้รอยดำจางลงได้เร็วขึ้น
วิธีการดูแล
มี 2 วิธีการที่แพทย์เลือกใช้ 1) การผลัดเซลล์ผิว เพื่อขจัดเม็ดสีเมลานินออกไป 2) การควบคุมการสร้างเม็ดสี วิธีการขจัดเม็ดสีโดยการผลัดเซลล์ผิว
วิธีการผลัดเซลล์ผิว เพื่อขจัดเม็ดสีเมลานิน
วิธีการขจัดเม็ดสีโดยการผลัดเซลล์ผิว ทำได้โดยการทำเลเซอร์
(laser) ซึ่งอาจทำให้ผิวเกิดการระคายเคือง อักเสบและร้อนที่ผิวได้ ซึ่งยิ่งมีโอกาสทำให้ผิวเกิดการสร้างเม็ดสีที่มากขึ้น (post-inflammatory hyperpigmentation)
การลอกหน้า (Chemical peel) เช่น การใช้กรดผลไม้ (Glycolic Acid, AHA) ทาบริเวณที่มีจุดด่างดำ เพื่อผลัดเซลล์ผิวที่เสื่อมสภาพแล้วออกไป ทำให้เกิดการสร้างเซลล์ผิวใหม่
เทคนิคเลเซอร์ (Fraxel, Erbium YAG) และเทคนิค IPL (Intense Pulse Light) เป็นการยิงแสงเลเซอร์เพื่อทำให้เม็ดสีกระจายตัว แล้วผลัดออกไปกับเซลล์ผิวที่เสื่อมสภาพแล้ว
การควบคุมการสร้างเม็ดสี
มีสารหลายชนิดที่มีคุณสมบัติในการช่วยควบคุมการสร้างเม็ดสีเมลานิน
- Hydroquinone 2-4% เป็นสารที่ใช้อย่างแพร่หลายมานาน แต่ก็มีโอกาสทำให้ผิวเกิดการระคายเคืองได้ จึงถุกนำมาใช้ในผลิตภัณฑ์ดูแลผิวในความเข้มข้นต่ำๆ
- Arbutin พบได้ในผลิตภัณฑ์ให้ความกระจ่างใสหลายชนิด แต่ก็ยังต้องระวังในเรื่องความปลอดภัย
- Kojic Acid สารสกัดธรรมชาติที่ได้มาจาก Japanese rice wine แต่อย่างไรก็ตาม สารชนิดนี้ลดการสร้างเม็ดสีเมลานินได้ไม่ดีพอ
- Glycolic Acid ป็นสารที่ใช้แพน่หลายในเทคนิค Chemical peel และอยู่ในผลิตภัณฑ์ที่ช่วยลดการสร้างเม็ดสีหลายตัว
- Retinoids (Vitamin A) เป็นสารที่มีประสิทธิภาพ แต่อาจเกิดการระคายเคือง และแพ้ได้ง่าย และไม่แนะนำให้ใช้ในสตรีมีครรภ์และให้นมบุตร ด้วยเหตุผลในเรื่องความปลอดภัย
- Vitamin C มักถูกใช้ร่วมกับสารอื่นๆ เพื่อช่วยลดการสร้างเม็ดสีเมลานิน
B-Resorcinol
สารที่พิสูจน์แล้วว่ามีประสิทธิภาพในการลดการสร้างเม็ดสีเมลานินจาก
จุดกำเนิด ซึ่ง B-Resorcinol เป็นสารสำคัญที่อยู่ในผลิตภัณฑ์ยูเซอริน โดยมีคุณสมบัติช่วยยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ไทโรซิเนส โดยไม่ทำให้ผิวเกิดการระคายเคือง
B-Resorcinol ผ่านการพิสูจน์แล้วว่าสามารถลดเลือนจุดด่างดำได้
ภายใน 4 สัปดาห์ และไม่ทำให้ผิวเกิดการระคายเคือง
ผู้ที่มีปัญหา PIH ควรหลีกเลี่ยง
- แสงแดด เพราะยิ่งทำให้มีโอกาสเกิดจุดด่างดำมากขึ้น
- ถ้าจุดด่างดำ มีการเปลี่ยนแปลงของรูปร่าง และขนาด แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ เพื่อทำการตรวจวินิฉัยเพิ่มเติม