โรคสะเก็ดเงิน เป็นโรคผิวหนังชนิดหนึ่งที่ก่อปัญหารบกวนทั้งร่างกายและจิตใจ ผู้ที่เป็นโรคสะเก็ดเงินจะมีผิวหนังบอบบาง แพ้ง่าย ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ วันนี้เราจะมาดูกันว่าอาการ สาเหตุการเกิด และวิธีดูแลรักษาเบื้องต้นของโรคสะเก็ดเงินสามารถทำได้อย่างไร
โรคสะเก็ดเงินคืออะไร
โรคสะเก็ดเงิน มีลักษณะเป็นผื่นสีแดงหนา และมีขอบชัดเจน ปกคลุมด้วยสะเก็ดสีขาวคล้ายเงิน (silvery-white scales) เป็นโรคผิวหนังเรื้อรังที่เกิดจากการแบ่งตัวผิดปกติของเซลล์ผิวหนังอย่างรวดเร็วกว่าปกติ โดยสาเหตุยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด สามารถเกิดได้ทุกส่วนทั่วร่างกายและเกิดได้กับคนทุกเพศทุกวัย
สาเหตุของโรคสะเก็ดเงิน
ในปัจจุบันยังไม่พบสาเหตุการเกิดที่แน่ชัดของการเกิดโรคสะเก็ดเงิน แต่ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดการพัฒนาของโรคอาจมาจาก
- เซลล์เม็ดเลือดขาวในระบบภูมิคุ้มกันเกิดความผิดปกติ ด้วยเหตุนี้เซลล์เม็ดเลือดขาวจึงทำลายเซลล์ผิวหนังแทนสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกาย
- การถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ หากคนในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคสะเก็ดเงินและโรคผิวหนังอื่น ๆ ก็อาจเกิดการถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้
- ปัจจัยภายนอก การบาดเจ็บบริเวณผิวหนัง การติดเชื้อเอชไอวี การใช้ยารักษาโรคหัวใจและความดันสูง หรือความเครียด เป็นปัจจัยที่เป็นตัวกระตุ้นโรคสะเก็ดเงิน โดยปัจจัยเหล่านี้จะแตกต่างกันไปตามแต่ละบุคคล
ลักษณะอาการของโรคสะเก็ดเงิน
โรคสะเก็ดเงินมีลักษณะอาการที่หลากหลาย ที่พบได้บ่อยสามารถสังเกตได้ดังนี้
- ชนิดผื่นหนาหรือปื้นหนา เป็นชนิดที่พบมากที่สุดประมาณ 80% โดยผิวหนังจะเป็นผื่นแดงหนาคลุมด้วยสีเงิน ตอนกำเริบใหม่ ๆ จะขึ้นเป็นตุ่มแดง มีขอบเขตชัดเจนและมีขุยสีขาว (สีเงิน) อยู่ที่ผิว ต่อมาจะค่อย ๆ ขยายออกจนกลายเป็นปื้นใหญ่และหนา ขุยสีขาวจะหนาตัวขึ้นจนเห็นเป็นเกล็ดสีเงิน อาจทำให้เกิดอาการคันหรือเจ็บ และอาจคล้ายอาการของผิวหนังอักเสบจากภูมิแพ้ ส่วนใหญ่มักเกิดกับผิวบริเวณข้อศอก หัวเข่า และหนังศีรษะ
- ชนิดเกิดตามข้อพับ มักเกิดตามข้อพับและซอกต่าง ๆ เช่น รักแร้ หน้าอก ขาหนีบ หรือรอบอวัยวะเพศ โดยจะมีลักษณะเป็นรอยแดง ผิวราบเรียบ มีขอบเขตชัดเจน
- ชนิดเกิดที่หนังศีรษะ หนังศรีษะจะลอกเป็นขุย มีลักษณะเป็นผื่นแดงหนา มีขอบเขตชัดเจน มีเกล็ดเงินขึ้นตามแนวไรผม อาจลามมาที่หน้าผาก จะมีอาการคันเวลาเกาหนังศีรษะและอาจมีเกล็ดผิวหนังร่วงเกาะตามผมและไหล่คล้ายกับรังแค พบได้ประมาณ 50% ของผู้ป่วยที่เป็นโรคสะเก็ดเงิน
- ชนิดเกิดที่เล็บ เกิดขึ้นได้ทั้งที่เล็บมือและเล็บเท้า มีอาการหลายแบบ เช่น มีจุดสีน้ำตาลใต้เล็บ เล็บขรุขระ เล็บเป็นหลุม เป็นรอยบุ๋มผิดรูป ผิวใต้เล็บหนา มักเกิดร่วมกับเนื้อเยื่อของเล็บอักเสบ หากรุนแรงเนื้อเล็บจะเปื่อยยุ่ย ถูกทำลาย
โรคสะเก็ดเงินต่างจากปัญหาผิวอื่นๆ ผดผื่นหรือลมพิษอย่างไร
โรคสะเก็ดเงิน |
ผดผื่น |
ลมพิษ |
|
สาเหตุการเกิด |
พบได้บ่อยตามร่างกายของผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงิน คือ ผิวหนังมีลักษณะแดง เป็นผื่นแดงนูน ตกสะเก็ดเป็นขุยสีขาว ผิวแห้งมากจนแตกและมีเลือดออก เกิดการอักเสบของผิว หนังศีรษะลอกเป็นขุย เล็บมือและเท้าหนาขึ้น |
ผดผื่นโดยทั่วไปอาจเกิดจากผิวหนังสัมผัสกับฝุ่นละอองและมลพิษ การล้างหน้าไม่สะอาด หรือการใช้ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับผิวหน้าที่มีสารก่อให้เกิดการแพ้จนเกิดอาการระคายเคืองและเป็นผดผื่น |
ลมพิษก็เป็นผื่นอีกชนิดหนึ่งที่เกิดจากการแพ้ เช่น แพ้อาหาร หรือสูดดมฝุ่นละลองที่เป็นพิษเข้าไป |
ลักษณะอาการ |
ผิวหนังมีลักษณะแดง เป็นผื่นแดงนูน ตกสะเก็ดเป็นขุยสีขาว ผู้ป่วยจะรู้สึกเจ็บ คัน หรือรู้สึกแสบร้อนบริเวณผิวหนัง อาการอาจคงอยู่นานหลายวันไปจนถึงหลายสัปดาห์ แล้วค่อย ๆ บรรเทาลง |
ผดผื่นจะมีลักษณเป็นผดแดงเม็ดเล็กๆรวมกันเป็นปื้น จะมีอาการคันมากน้อยขึ้นอยู่กับการแพ้ของแต่ละบุคคล |
ผื่นจะมีลักษณะ บวมนูน มีสีขาว ล้อมรอบด้วยผื่นแดง ซึ่งจะมีขอบเขตของผื่นที่ชัดเจน |
การดูแลรักษาโรคสะเก็ดเงิน
การรักษาสามารถทำได้หลายวิธีตามระดับความรุนแรง
- อาการเล็กน้อยถึงปานกลาง สามารถรักษาด้วยการใช้ยาทาภายนอก เพื่อบรรเทาอาการ ลดการอักเสบและผิวหนังที่ตกสะเก็ด และขจัดผิวหนังที่เป็นแผ่นแข็ง ควบคู่ไปกับการใช้ครีมบำรุงผิวเป็นประจำทุกวัน เพื่อให้ผิวแข็งแรง
- อาการปานกลางไปจนถึงรุนแรง แพทย์อาจรักษาด้วยการใช้ยารับประทาน ยาฉีดเข้าเส้น หรือการฉายแสงด้วยรังสีอัลตราไวโอเลต การรักษาอาจใช้หลายวิธีควบคู่กันหรือเพียงวิธีเดียวเพื่อช่วยให้อาการดีขึ้น
ข้อควรปฏิบัติและควรหลีกเลี่ยงในผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงิน
ผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงินควรปฏิบัติและหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นของการเกิดโรคดังต่อไปนี้
- หลีกเลี่ยงการใช้ผลิตภัณฑ์ที่ทำให้ผิวหนัง หรือหนังศีรษะแห้ง ใช้ครีมบำรุงที่ให้ความชุ่มชื้น และอ่อนโยนเพื่อลดโอกาสการเกิดโรคสะเก็ดเงิน
- หลีกเลี่ยงความเครียดในชีวิตประจำวัน และนอนหลับให้เพียงพอ เพราะอาจทำให้อาการโรคสะเก็ดเงินกำเริบ หรือรุนแรงกว่าเดิมได้
- ก่อนการใช้ยาบางชนิดควรปรึกษาแพทย์ ยาบางชนิดส่งผลต่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายและต้านการอักเสบอาจส่งผลให้เกิดโรคนี้ขึ้นได้ เช่น ยาลิเทียม ยาต้านมาลาเรีย ยาลดความดันโลหิต ยาในกลุ่มลดการอักเสบ ผู้ที่ใช้ยาในกลุ่มนี้ควรปรึกษาแพทย์ก่อน
- ดูแลร่างกายไม่ให้ติดเชื้อ เมื่อร่างกายได้รับเชื้อจะทำให้เกิดการอักเสบ และอาจเกิดการลุกลาม
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ รับประทานอาหารครบ 5 หมู่
- หลีกเลี่ยงการแกะหรือเกาผื่นสะเก็ดเงิน เพราะอาจทำให้อาการรุนแรงขึ้นและลุกลามได้
- หลีกเลี่ยงการดื่มสุราและการสูบบุหรี่
- ออกกำลังกายเป็นประจำ และควบคุมไม่ให้มีภาวะน้ำหนักเกิน
IINFO TIPS : ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวที่แนะนำ สำหรับผู้ที่เป็นโรคสะเก็ดเงินควรทาครีมหรือโลชั่นให้ความชุ่มชื้นแก่ผิวเป็นประจำทุกวัน เพื่อลดอาการผิวแห้ง และลดโอกาสในการเกิดโรคสะเก็ดเงินให้น้อยลง ใช้สบู่อ่อน ๆ เพื่อหลีกเลี่ยงอาการระคายเคืองของผิวหนัง ห้ามใช้น้ำยาฆ่าเชื้อในการทำความสะอาดผิว เพราะโรคสะเก็ดเงินไม่ใช่โรคติดต่อ และน้ำยาฆ่าเชื้อจะทำให้เกิดการระคายเคืองและผื่นกำเริบมากขึ้น |
แม้โรคสะเก็ดเงินจะเป็นโรคผิวหนังที่รักษาให้หายขาดไม่ได้ แต่ผู้ป่วยสามารถป้องกันและดูแลตนเองได้หลากหลายวิธี ทั้งการดูแลรักษาสุขอนามัยในชีวิตประจำวัน รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวสำหรับผิวแห้งและแพ้ง่ายที่ผ่านการรับรองทางการแพทย์แล้วว่าปลอดภัย จนกระทั่งพบแพทย์หากมีอาการหนัก เพียงเท่านี้ก็ช่วยให้ผู้ป่วยอาการดีขึ้นได้
แนะนำผลิตภัณฑ์ดูแลผิวแพ้ง่าย
Eucerin OMEGA BATH & SHOWER OIL ผลิตภัณฑ์ออยล์อาบน้ำสำหรับผู้มีอาการผิวแห้งระคายและมีแนวโน้มเป็นผื่นภูมิแพ้ที่ต้องเริ่มดูแลผิวตั้งแต่การอาบน้ำ เพื่อลดปัญหาผิวระคายจากผิวแห้ง เสริมเกราะป้องกันผิวลดโอกาสเกิดผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง ด้วย Omega Oil 3 และ 6 ช่วยเสริมเกราะป้องกันผิว และ Polidocanol ลดปัญหาผิวระคายอย่างมีประสิทธิภาพ พิสูจน์แล้วปลอดภัยสามารถใช้ได้ตั้งแต่เด็กแรกเกิด
Eucerin OMEGA BALM LIGHT TEXTURE ผลิตภัณฑ์บำรุงผิว สำหรับผู้ที่กำลังมีปัญหาผิวแห้ง ระคายเคืองง่าย แดง คัน ผิวอักเสบเป็นผื่นภูมิแพ้ หรือผดผื่น ด้วยสาร Licochalcone A ที่สกัดจากธรรมชาติช่วยลดปัญหาผิวแห้ง และการระคายที่มีสาเหตุจากผิวแห้ง ผสาน Omega 3 & 6 fatty acids และ ceramindes ช่วยเติมไขมันที่จำเป็น เพื่อคืนความชุ่มชื้น พร้อม Shea Butter ที่ช่วยฟื้นบำรุงชั้นปกป้องผิวให้มีสุขภาพดีขึ้น