ส้นเท้าแตกเกิดจากอะไร – พร้อม 4 วิธีแก้ส้นเท้าแตก

อ่านแล้ว 1 นาที

"ส้นเท้าแตก" คือ อาการที่ผิวหนังบริเวณส้นเท้ามีลักษณะแห้ง หยาบ แข็ง แตกและแยกออกเป็นแผ่น ปัญหาส้นเท้าแตกมองเผินๆ อาจดูไม่สำคัญ หลายคนอาจไม่ได้ใส่ใจดูแลผิวบริเวณนี้มากนัก แต่หากปล่อยทิ้งไว้จะทำให้ฝ่าเท้าหนาขึ้น แตกเป็นร่องลึก อาจมีเลือดออกและอาจนำไปสู่การติดเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อราได้ หลายคนจึงพยายามค้นหาวิธีดูแลส้นเท้าแตกอย่างไรให้ได้ผล

ส้นเท้าแตกมีสาเหตุการเกิดจากอะไร

ปัจจัยที่ทำให้ส้นเท้าแตกเกิดจากทั้งจากปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกดังนี้

1. ปัจจัยภายใน ได้แก่ เกิดจากกรรมพันธุ์ เกิดจากการเจ็บป่วยบางโรค เช่น โรคเบาหวาน โรคข้ออักเสบเรื้อรัง รวมถึงอายุที่เพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้ผิวหนังขาดความชุ่มชื้น

2. ปัจจัยภายนอกและพฤติกรรมเสี่ยง

  • การดื่มน้ำ ดื่มน้ำไม่เพียงพอต่อปริมาณที่ร่างกายควรได้รับในแต่ละวันเป็นปัจจัยให้ส้นเท้าแตกได้
  • การอาบน้ำ การอาบน้ำด้วยน้ำอุ่นเป็นประจำ หรือแช่น้ำร้อนเป็นเวลานาน รวมทั้งการใช้สบู่ หรือผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่ทำให้ผิวแห้งจัดก็เป็นอีกปัจจัยที่ส่งผลให้ส้นเท้าแตก
  • อยู่ในบริเวณที่มีอากาศเย็นเป็นประจำ โดยไม่ทาครีมบำรุงเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับผิว
  • เกี่ยวกับการเดินและใส่รองเท้าที่ไม่ถนอมผิวบริเวณเท้า เช่น ชอบเดินเท้าเปล่าโดยไม่ใส่รองเท้า การสวมรองเท้าไม่พอดีกับขนาดเท้า การสวมรองเท้าแบบเปิดผิวเท้า หรือพื้นรองเท้าแข็งเกินไป ล้วนเป็นปัจจัยเสี่ยงเช่นกัน
  • ไม่ทาครีมบำรุงหรือละเลยการบำรุงผิวบริเวณส้นเท้า  ส้นเท้าที่ถูกเสียดสีอยู่ตลอดเวลาจากการสวมใส่รองเท้าย่อมทำให้ผิวบริเวณส้นเท้าแตกและด้านได้ง่ายเนื่องจากสูญเสียความชุ่มชื้น การไม่ใช้ครีมหรือบาล์มบำรุงส้นเท้าอาจส่งผลให้ปัญหาส้นเท้าแตกเพิ่มระดับความรุนแรงมากยิ่งขึ้น
  • เกิดจากการแพ้สารบางชนิด เช่น สารเคมี ปูนซีเมนต์

4 สเต็ปการดูแล แก้ส้นเท้าแตกให้กลับมาเนียนนุ่ม

  1. ดื่มน้ำในปริมาณที่เพียงพอ การดื่มน้ำน้อยจะทำให้มีน้ำในร่างกายน้อย จึงเกิดอาการปากแห้ง คอแห้ง กระทบต่อระบบภายในต่าง ๆ และยังส่งผลต่อสภาพผิวที่แห้งแตกบริเวณส้นเท้าด้วย จึงควรดื่มน้ำให้มาก ๆ เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นให้แก่บริเวณที่ส้นเท้าแตก ให้ผิวฟื้นฟูกลับมาเป็นปกติ
  2. การอาบน้ำ ควรอาบน้ำที่มีอุณหภูมิปกติ หลีกเลี่ยงการอาบน้ำอุ่นจัดหรือน้ำร้อนนานเกินไป เพราะจะทำให้ผิวแห้งมากยิ่งขึ้น และควรใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวที่ช่วยเพิ่มความชุ่มชื้น ไม่ทำให้ผิวแห้งตึง เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณสมบัติในการช่วยถนอมผิว ไม่ก่อให้เกิดอาการแพ้ ไม่ระคายเคืองผิวและไม่ทำให้ผิวแห้ง นอกจากนี้ให้แช่เท้าในน้ำอุ่น 10-15 นาที แล้วใช้สครับหรือหินขัดเท้าขัดถูเท้าตอนอาบน้ำ เพื่อให้เซลล์ผิวหนังเก่าหลุดลอก
  3. รองเท้า หลีกเลี่ยงการสวมรองเท้าแตะเป็นประจำหรือรองเท้าที่มีลักษณะเปิดเท้า นอกจากนี้ควรเลือกรองเท้าที่มีขนาดพอดี พื้นรองเท้ามีความนุ่มและคุณภาพดี ก่อนสวมรองเท้าควรสวมถุงเท้านุ่มๆ ด้วยทุกครั้ง เพื่อลดแรงกระแทกที่มีต่อฝ่าเท้าและส้นเท้า เมื่ออยู่ในบ้านอาจจะเลือกสวมรองเท้าขนนุ่มๆ จะช่วยลดแรงกระแทกบริเวณส้นเท้าได้
  4. ทาบาล์มบำรุงสำหรับทาส้นเท้าแตก จะช่วยป้องกันไม่ให้ผิวแห้งแตกได้ Aquaphor Soothing Skin Balm บาล์มทาผิวที่สามารถฟื้นบำรุงผิวแห้งแตกลอกเป็นขุยได้ โดยการสร้างเกราะปกป้องแบบ semi-occlusive ที่ช่วยควบคุมการสูญเสียน้ำ เพื่อคงความชุ่มชื้นไว้โดยการดึงน้ำเข้าสู่ผิว แต่ในขณะเดียวกันก็ยอมให้ออกซิเจนซึมผ่านได้เพื่อเสริมกระบวนการสร้างผิวใหม่  มีส่วนผสมหลัก  3 สารสำคัญ คือ แพนทีนอล ยูเซอริทและบิสซาโบลอล ในการช่วยเสริมกระบวนการสร้างผิวใหม่ตามธรรมชาติ เสริมไขมันปกป้องผิว และปลอบประโลมอย่างอ่อนโยนสามารถใช้ทาบริเวณส้นเท้าที่แห้งแตกไว้ก่อนนอน แล้วสวมถุงเท้าเอาไว้ ตัวเนื้อบาล์มสามารถทาเกลี่ยได้ง่าย ไม่หนักผิวหรือรู้สึกเหนอะหนะ นอกจากนี้ยังสามรถใช้กับผิวแห้งแตกบริเวณอื่นๆ เช่น ข้อศอกด้าน เล็บ หรือหัวเข่า ได้ด้วยเช่นกัน 

อาการส้นเท้าแตกเป็นปัญหาเล็กๆ ที่หลายคนมองข้ามเพราะคิดว่าคงไม่มีใครสังเกตเห็น แต่แท้ที่จริงแล้วส่งผลทั้งต่อบุคลิกภาพและสุขภาพผิวไม่น้อย โดยส่วนใหญ่แล้วเกิดจากพฤติกรรมที่ละเลยการดูแลตัวเองทั้งภายนอกและภายในของเรานั่นเอง นอกจากนี้หากดูแลหรือรักษาส้นเท้าแตกไม่ถูกวิธี นอกจากจะเป็นอาการเรื้อรังแล้ว อาจนำไปสู่การติดเชื้อจนเป็นปัญหาใหญ่ตามมาในภายหลังได้ จึงควรดูแลตัวเองให้ดีทั้งภายนอกและภายใน รวมทั้งเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่ช่วยบรรเทาอาการผิวแห้งแตกที่ส้นเท้าร่วมด้วยเพื่อให้อาการดีขึ้น แต่หากรักษาดูแลส้นเท้าแตกด้วยตัวเองแล้วอาการยังไม่ทุเลา ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษาที่ถูกต้องและปลอดภัย