ตุ่มขึ้นตามตัว คล้ายสิว และคัน ส่วนใหญ่แล้วมักพบที่บริเวณกรอบหน้า แขน ขา ลำตัว หน้าอก มีลักษณะเป็นตุ่มแดงเมื่อสัมผัสโดนมีอาการเจ็บเหมือนสิว หรืออาจคล้ายสิวหัวขาวรอบรูขุมขน อาการแบบนี้อย่าปล่อยไว้ เสี่ยงเป็นโรคผิวหนังอักเสบได้
สาเหตุของอาการตุ่มขึ้นตามตัว คล้ายสิว
สำหรับสาเหตุของการเกิดตุ่มคล้ายสิว อาจเกิดจากสาเหตุดังต่อไปนี้
1. รูขุมขนอักเสบ
เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อราที่รูขุมขน ร่วมกับการอุดตันของรูขุมขนร่วมด้วย
2. ผดร้อน
เกิดจากต่อมเหงื่อที่อุดตัน โดยเฉพาะเมื่อเหงื่อออก หรืออยู่ในสภาพอากาศที่ร้อนและชื้น มักมีอาการคันร่วมด้วย
3. ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ
แพ้เหงื่อตัวเองซึ่งเป็นลมพิษชนิดหนึ่งที่เกิดจาก การที่ผิวหนังถูกกระตุ้นด้วยความร้อน หรืออยู่ในสภาพอากาศที่ร้อน จนเกิดผื่นมีลักษณะเป็นผื่นแดงทั่วร่างกาย โดยเฉพาะบริเวณหน้าอก ใบหน้า แผ่นหลัง และมีอาการคันร่วมด้วย
4 โรคผื่นแพ้ต่อมไขมัน หรือโรคเซ็บเดิร์ม (seborrheic dermatitis)
เป็นโรคที่มีอาการอักเสบเรื้อรังของผิวหนังที่พบได้บ่อย อย่างบริเวณบนหนังศีรษะและผิวหนังบริเวณที่มีความมัน มีลักษณะเป็นผื่นแดง มีอาการคันบริเวณผื่น หรือบริเวณสะเก็ดแผล
5. การโกนหนวด หรือโกนขน
การโกนหนวดและขนเป็นประจำ อาจทำให้ผิวหนังระคายเคือง จนเกิดการอักเสบได้
6. การใส่เสื้อผ้าที่รัดแน่น
การใส่เสื้อผ้าที่รัดแน่นเกินไปอาจจะทำให้เกิดการเสียดสีที่ผิวหนังมากเกินไป จนเกิดการระคายเคืองบนผิวขึ้น
7. การแพ้ผลิตภัณฑ์บำรุงผิว
เกิดอาการแพ้ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหรือผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิว อาจเป็นมอยเจอร์ไรเซอร์ที่มีส่วนผสมของน้ำมันดิน
8. การแพ้ยารักษา
ตุ่มต่างๆอาจจะเกิดจากการแพ้ยาที่ใช้ เช่น ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ (Corticosteroids) ที่รักษาอาการบวมแดง หรือการติดเชื้อ ทำให้เกิดตุ่มขึ้นตามตัวได้
วิธีรักษาตุ่มขึ้นตามตัว
อาการตุ่มขึ้นตามตัว คล้ายสิว ส่วนใหญ่มักหายไปเอง หากทำความสะอาดผิวอย่างถูกวิธี หรือหลีกเลี่ยงสิ่งที่กระตุ้น ที่อาจทำให้เกิดผิวหนังอักเสบ สำหรับการรักษาสามารถทำได้ดังนี้
วิธี 1 ทำความสะอาดผิวหนังที่อักเสบประจำ
หากตุ่มที่ขึ้นเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย อาจต้องใช้สบู่ต้านแบคทีเรียล้างทำความสะอาดบริเวณผิวหนังที่ติดเชื้ออย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง
วิธี 2 ใช้น้ำเกลือรักษา
เนื่องจากเกลือมีสารที่ช่วยในการบรรเทาอาการอักเสบและติดเชื้อของผิวหนัง โดยผสมเกลือ 1 ช้อนชากับน้ำอุ่น 2 ถ้วย เทน้ำที่ผสมแล้วลงบนผ้าเช็ดตัวจากนั้นประคบตรงบนผิวที่เป็นตุ่ม ช่วยลดความหยาบกร้าน และลดการอักเสบของโรคผื่นภูมิภูมิแพ้ให้ผิวหนังบริเวณนั้น
วิธี 3 ปรึกษาแพทย์
สำหรับผู้ที่เป็นโรคบางโรค อย่าง โรคแพ้เหงื่อตัวเอง โรคต่อมไขมันอักเสบ ควรปรึกษาแพทย์
วิธีการป้องกันและดูแลตัวเองลดโอกาสการเกิดตุ่มตามตัว
วิธี 1 ควรเลือกผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวที่เหมาะกับสภาพผิว
โดยเฉพาะผู้ที่มีปัญหาผิวแห้ง แพ้ง่าย หรือมีอาการแพ้ร่วมด้วยแนะนำ Eucerin pH5 WASH LOTION PERFUME FREE PARABEN FREE ซึ่งช่วยทำความสะอาดผิวได้อย่างอ่อนโยน ปราศจากน้ำหอม ที่มีส่วนผสมเฉพาะของ pH5 Enzyme protection นวัตกรรมเฉพาะจาก Eucerin เหมาะสำหรับผิวแห้ง บอบบาง รวมถึงผู้ที่เป็นโรคผิวหนังที่มีอาการแห้ง แพ้ง่ายเป็นพิเศษ ช่วยคงความสมดุลของชั้นปกป้องผิว ผิวแห้งเสียสะสม กลับมามีสุขภาพดีขึ้นจากภายใน
วิธี 2 บำรุงผิวด้วยผลิตภัณฑ์ที่เหมาะกับผู้ที่มีผิวแห้งมาก หรือลอกเป็นขุย
บำรุงผิวด้วย Eucerin UREA REPAIR PLUS 5% UREA LOTION 48H LONG-LASTING HYDRATION โลชั่นบำรุงผิวที่ช่วยกักเก็บความชุ่มชื้นของผิว ด้วย UREA สารให้ความชุ่มชื้นระดับ Gold Standard ผสาน NMF และ Ceramides ช่วยฟื้นบำรุงผิวกายแห้งกร้านให้มีสุขภาพดีขึ้น เติมน้ำสู่ผิว เสริมเกราะปกป้องผิวให้แข็งแรงขึ้น และลดการสูญเสียความชุ่มชื้นออกจากผิว
วิธี 3 ควรลดปัจจัยกระตุ้นที่ทำให้เกิดตุ่มตามตัว
อย่างการอยู่ในสภาพอากาศที่เย็นสบาย ไม่ร้อนจนเกินไป
วิธี 4 ไม่ควรใส่เสื้อผ้ารัดหรือแนบเนื้อจนเกินไป
ควรเลือกเสื้อผ้าที่ไม่ก่อให้เกิดการระคายเคืองผิว
วิธี 5 หากจำเป็นต้องโกนหนวดหรือขน
อาจใช้สบู่ต้านแบคทีเรียฟอกบริเวณผิวก่อนโกน พยายามอย่าโกนใกล้ผิวหนังจนเกินไป และหลีกเลี่ยงการโกนหนวดหรือขนบ่อยเกินไป
วิธี 6 ไม่ใช้ผ้าเช็ดตัว ผ้าเช็ดหน้าร่วมกับผู้อื่น
ของใช้ส่วนตัวไม่ควรใช้ร่วมกับผู้อื่น และซักผ้าที่ใช้ทำความสะอาดตัวเป็นประจำ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 ครั้ง
อาการตุ่มขึ้นตามตัว คล้ายสิว แม้จะไม่ใช่อาการที่ร้ายแรง แต่อาจเป็นสาเหตุของโรคผิวหนังและปัญหาผิวอื่นๆ ตามมาได้ หากพบว่าตัวเองมีอาการผิดปกติเกิดขึ้นกับผิวหนังทางที่ดีควรไปปรึกษาแพทย์