ย้อนวัยผิว

เทคโนโลยีที่สามารถย้อนอายุผิวจาก Eucerin

อ่านแล้ว 2 นาที
แสดงบทความเพิ่มเติม

Epigenetic Clock คืออะไร?

Epigenetic Clock คือ วิธีการวัดอายุของเซลล์ในร่างกาย โดยดูจาก "ร่องรอย" ที่เกิดขึ้นบน DNA ของเรา ร่องรอยเหล่านี้เกิดจากปัจจัยต่างๆ ในชีวิตประจำวัน เช่น แสงแดด มลภาวะ อาหาร หรือการสูบบุหรี่ เหมือนกับ "ริ้วรอย" บนหน้าที่บอกอายุของเราได้ แต่ Epigenetic Clock จะสามารถตรวจสอบลึกลงไปถึงระดับ DNA

นักวิทยาศาสตร์ชื่อ Dr. Steve Horvath ได้คิดค้น Epigenetic Clock แบบหนึ่งที่มีความแม่นยำ และถูกเรียกว่า "Horvath's Clock" เขาค้นพบว่า ร่องรอยบางอย่างบน DNA สามารถนำมาคำนวณอายุของเซลล์ได้อย่างแม่นยำ (Horvath 2013)

โดยอาศัยการดูรูปแบบการเปลี่ยนแปลงทางเคมีบน DNA ที่เรียกว่า Epigenetic ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้เกิดจากปัจจัยต่างๆ รอบตัวเรา เช่น แสงแดด อาหาร หรือการสูบบุหรี่ ทำให้เราแต่ละคนมีรูปแบบ Epigenetic ที่ไม่เหมือนกัน ซึ่งรูปแบบ Epigenetic นี้ เปรียบเหมือนร่องรอยบน DNA ที่บอกเล่าเรื่องราวการใช้ชีวิตของเรา ซึ่งส่งผลต่อการทำงานของยีน รวมถึงยีนที่เกี่ยวข้องกับความอ่อนเยาว์ นักวิทยาศาสตร์สามารถใช้นาฬิกาชีวภาพนี้ประเมินอายุของเซลล์ผิว และนำมาเปรียบเทียบกับอายุจริงของเราได้ (Bormann et al., 2016)

ย้อนวัยผิว ลดอายุผิว
ย้อนวัยให้กับอายุผิว

#ย้อนวัยผิว

Eucerin Hyaluron-Filler Epicelline Serum เซรั่มต่อต้านริ้วรอยใหม่ ที่ช่วยป้องกันและจัดการ 10 สัญญาณแห่งวัย ด้วยนวัตกรรม Age Clock Technology ที่ได้รับการจดสิทธิบัตร พร้อมด้วยสาร Epicelline® ที่เป็นสารทรงพลังใหม่ล่าสุดในการต่อต้านความร่วงโรยแห่งวัย ที่ค้นพบโดยทีมนักวิทยาศาสตร์ของ Eucerin หลังจากการวิจัยเกี่ยวกับ Epigenetics อย่างต่อเนื่องกว่า 15 ปี
ดูรายละเอียด

Horvath Clock คืออะไร?

ย้อนวัยผิวอย่างเป็นธรรมชาติ
Epigenetic Clock แสดงถึงอายุของผิวได้จากร่องรอยใน DNA

Epigenetic Clock ของ Horvath เป็นแบบจำลองชีวสารสนเทศ (Bioinformatic) ที่เป็นนวัตกรรมใหม่โดยใช้ AI เมื่อเซลล์ผิวของคุณมีอายุมากขึ้น จะเกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมีใน DNA ที่เรียกว่า "methylation" รูปแบบ Epigenetic จะก่อตัวขึ้น หมายความว่ารูปแบบการ Methylation ของ DNA ของเซลล์ของคุณเปลี่ยนไป (Bocklandt et al. 2011)

Horvath Clock จะตรวจสอบรูปแบบการเปลี่ยนแปลง methylation ของ DNA ณ ตำแหน่งเฉพาะบน DNA ที่มีการเพิ่มหรือลบกลุ่มเมทิลเมื่อเซลล์ผิวอายุมากขึ้น แบบจำลองรูปแบบเหล่านี้จะถูกนำมาใช้คำนวณอายุทางชีวภาพได้อย่างแม่นยำ ซึ่งอาจแตกต่างจากอายุจริงของร่างกาย (Horvath 2013)

เราได้กล่าวถึงแนวคิดเรื่องอายุร่างกาย (Biological Age) และอายุจริงตามปฏิทิน (Chronological Age) โดยอ้างอิงจากหลักการของ Epigenetic Clock และทำไมแนวคิดเรื่องอายุของเซลล์ถึงมีความสำคัญกับการดูแลผิวพรรณ อายุตามปฏิทิน (Chronological Age) ก็คือการนับอายุจากวันเกิดจนถึงปัจจุบัน แต่อายุร่างกายบ่งบอกถึงสภาพภายใน และถ้าพูดถึงเรื่องผิวพรรณ อายุร่างกายก็คืออายุของเซลล์ผิว ซึ่งอายุของเซลล์ผิวจะขึ้นอยู่กับไลฟ์สไตล์และการใช้ชีวิตของแต่ละคน ซึ่งส่งผลให้อายุร่างกายอาจต่างจากอายุจริงมาก

ปัจจัยในการใช้ชีวิตและพฤติกรรมต่างๆ เช่น อาหาร การสัมผัสแสงแดด หรือขาดการออกกำลังกาย ล้วนส่งผลต่อการทำงานของเซลล์ผิว เพราะส่งผลต่อการทำงานของเซลล์ผิวและทิ้งร่องรอยการเปลี่ยนแปลงไว้บนรหัสการทำงานของเซลล์ผิว ซึ่งก่อให้เกิดรูปแบบ Epigenetic ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะบุคคล รูปแบบนี้เป็นตัวกำหนดว่าผิวของเราเหมือนผิวคนอายุเท่าไหร่ ร่องรอยเหล่านี้ส่งผลต่อกับความอ่อนเยาว์ของผิวโดยตรง สำหรับคนที่ดูแลตัวเองอย่างดีก็จะดูอ่อนกว่าวัยและมักมีอายุร่างกายน้อยกว่าอายุจริง

การดูแลตัวเองจึงเป็นกุญแจสำคัญในการคงความอ่อนเยาว์ของผิว ไม่ว่าจะเป็นการบำรุงผิว รับประทานอาหารที่ดีและสมดุล หรือการออกกำลังกาย แต่ถ้าอยากย้อนวัยผิวและลบเลือนริ้วรอยที่เกิดขึ้นแล้วต้องทำอย่างไร คำถามนี้เองที่ผลักดันให้นักวิทยาศาสตร์ของ Eucerin พัฒนาเทคโนโลยีล้ำสมัย ที่จะมาปฏิวัติวงการวิทยาศาสตร์การชะลอวัยและต่อต้านริ้วรอย

ห้องปฏิบัติการ Eucerin: เทคโนโลยีที่สามารถย้อนอายุผิวได้

เคล็ดลับย้อนวัยผิว
ลดเลือน 10 สัญญาณแห่งวัย

ตั้งแต่ปี 2008 นักวิทยาศาสตร์ของ Eucerin ได้ดำเนินการวิจัยเชิงลึกเกี่ยวกับ Epigenetics ซึ่งเป็นศาสตร์ที่ศึกษาการเปลี่ยนแปลงของยีนส์ที่ไม่ได้เกิดจากการเปลี่ยนแปลงลำดับดีเอ็นเอ จนกลายเป็นหนึ่งในผู้นำด้านนี้ โดยมีการค้นพบสำคัญๆ อย่างเช่น

การระบุการเปลี่ยนแปลง epigenetic ที่เกิดขึ้นในระหว่างทุกช่วงวัยของผิวหนังในปี 2010

การศึกษาผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงทาง Epigenetics ที่เกี่ยวข้องกับอายุ ที่มีผลต่อการแสดงออกของยีนส์ในผิวหนังโดยใช้การหาลำดับของ Transcriptome ในปี 2013

การพัฒนาเทคโนโลนี Age Clock ซึ่งสามารถบอกอายุผิวได้เป็นครั้งแรกในปี 2016 และได้รับการจดสิทธิบัตรในปี 2021 ในชื่อ "Age Clock Technology"

Age Clock Technology ของ Eucerin แตกต่างจาก Epigenetic Clock อื่นๆ อย่างเช่น Horvath Clock อย่างไร และจะช่วยให้ย้อนวัยผิวได้อย่างไร

ในขณะที่ Epigenetic Clock อื่นๆ เช่น Horvath Clock ได้รับการพัฒนามาจากข้อมูลที่หลากหลาย เช่น เลือดและผิวหนัง แต่กระบวนการที่อยู่เบื้องหลังเทคโนโลยีของ Eucerin มุ่งเน้นไปที่การวิจัยผิวหนังโดยเฉพาะ จนถึงปัจจุบัน เราได้รวบรวมตัวอย่างผิวจากอาสาสมัครมากกว่า 1,000 คน และตรวจสอบร่องรอยแห่งวัยที่อยู่ในเซลล์ผิวได้กว่า 850,000 จุด เพื่อหาว่าอะไรที่ทำให้คนเราเกิดริ้วรอยแห่งวัยขึ้นมา ซึ่งทำให้เราระบุได้ว่าการเปลี่ยนแปลง Epigenetic ใดบ้างในยีนส์ ที่เกี่ยวข้องกับอายุของผิว

ด้วย Age Clock Technology ที่จดสิทธิบัตรของ Eucerin นักวิทยาศาสตร์ของเราไม่เพียงแต่สามารถทำนายอายุผิวของคุณได้อย่างแม่นยำโดยการอ่านรูปแบบ epigenetic เท่านั้น แต่ยังสามารถระบุส่วนผสมที่ออกฤทธิ์ซึ่งส่งผลต่อรูปแบบ epigenetic ของผิวและย้อนวัยทางชีวภาพของผิวได้อีกด้วย เพื่อให้ก้าวข้ามริ้วรอยแห่งวัย Eucerin ยังคงพัฒนาเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่องผ่านกระบวนการวิจัยขั้นสูง

นักวิจัยผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จ
การใช้ชีวิตของคุณที่ผ่านมาเป็นอย่างไร ดูได้จากอายุผิว

Bocklandt, S., Lin, W., Sehl, M. E., Sánchez, F. J., Sinsheimer, J. S., Horvath, S., & Vilain, E. (2011). Epigenetic predictor of age. PloS one, 6(6), e14821. https://doi.org/10.1371/journal.pone.0014821

Bormann, F., et al.: Reduced DNA methylation patterning and transcriptional connectivity define human skin aging. Aging Cell. 2016 Jun;15(3):563-71. doi: 10.1111/acel.12470. Epub 2016 Mar 23. PMID: 27004597; PMCID: PMC4854925.

Gensous, N., Sala, C., Pirazzini, C., Ravaioli, F., Milazzo, M., Kwiatkowska, K. M., Marasco, E., De Fanti, S., Giuliani, C., Pellegrini, C., Santoro, A., Capri, M., Salvioli, S., Monti, D., Castellani, G., Franceschi, C., Bacalini, M. G., & Garagnani, P. (2022). A Targeted Epigenetic Clock for the Prediction of Biological Age. Cells, 11(24), 4044. https://doi.org/10.3390/cells11244044

Horvath S. (2013). DNA methylation age of human tissues and cell types. Genome biology, 14(10), R115. https://doi.org/10.1186/gb-2013-14-10-r115 

Levine M. E. (2020). Assessment of Epigenetic Clocks as Biomarkers of Aging in Basic and Population Research. The journals of gerontology. Series A, Biological sciences and medical sciences, 75(3), 463–465. https://doi.org/10.1093/gerona/glaa021

Palmer R. D. (2022). Aging clocks & mortality timers, methylation, glycomic, telomeric and more. A window to measuring biological age. Aging medicine (Milton (N.S.W)), 5(2), 120– 125. https://doi.org/10.1002/agm2.12197 

https://www.nm.org/healthbeat/medical-advances/science-and-research/What-is-Your-Actual-Age

https://www.age.mpg.de/what-is-the-epigenetic-clock