เนื้อสัมผัสของสกินแคร์ เมื่อเรียงตามลำดับการใช้งานตั้งแต่ขั้นตอนการทำความสะอาด ไปถึงขั้นตอนการบำรุง สามารถแบ่งออกได้ดังนี้
เมคอัพรีมูฟเวอร์ (Makeup remover)
ผลิตภัณฑ์ที่ใช้สำหรับล้างเครื่องสำอาง สามารถแบ่งเนื้อผลิตภัณฑ์ ได้ไปหลายอย่างไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบของออยเจลหรือน้ำ สำหรับเมคอัพรีมูปเวอร์สามารถแบ่งได้เป็น
1. คลีนซิ่งวอเตอร์ มีลักษณะเป็นน้ำใสๆ ที่ใช้หยดลงบนสำลี แล้วใช้เช็ดทำความสะอาดเครื่องสำอางบนใบหน้า ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วจะมีส่วนผสมของน้ำมันอยู่น้อยมาก
2. คลีนซิ่งมิลค์ ลักษณะผลิตภัณฑ์จะมีเนื้อคล้ายกับโลชั่น ใช้ทำความสะอาดเครื่องสำอางได้ดีมากขึ้น เนื่องจากมีส่วนผสมของน้ำมันจึงสามารถช่วยละลายเมคอัฟได้ดี
3. คลีนซิ่งออยล์ ผิวเผินแล้วจะดูเหมือนมีลักษณะคล้ายคลึงซึ่ง Water แต่จริง ๆ แล้วมีน้ำมันเป็นส่วนประกอบ เหมาะสำหรับล้างเครื่องสำอางกันน้ำหรือเมคอัฟแบบ Longware ต่างๆ โดยการนวดวนบนใบหน้า
4. คลีนซิ่งเจล จะมีเนื้อสัมผัสอยู่ระหว่างคลีนซิ่งวอเตอร์และคลีนซิ่งมิลค์ ซึ่งมีลักษณะเป็นโลชั่นเหลว สีขุ่น เหมาะสำหรับการทำความสะอาดในวันแต่งหน้าเบาๆ
คลีนเซอร์ (Cleanser)
ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวหน้า เช่น สบู่ หรือ โฟม มีหน้าที่ทำความสะอาดสิ่งสกปรกที่ยังตกค้างในรูขุมขน ทำให้เครื่องสำอางหรือสิ่งสกปรกไม่อุดตันบนผิวหน้า แบ่งได้ดังนี้
1. สบู่ก้อน สามารถชำระล้างสิ่งสกปรกได้สะอาดหมดจดกว่าคลีนเซอร์ประเภทอื่น ข้อเสียคือค่า pH สูง ทำให้ผิวหน้าขาดความชุ่มชื้น จึงไม่เหมาะกับคนผิวแห้ง สามารถแบ่งเป็น สบู่ทั่วไป (Toilet Soap) ตัวนี้ก็คือสบู่อาบน้ำทั่วไป มีความเป็นด่างสูง (pH 9 - 10) สบู่ใส (Transparent Soap) ออกแบบเพื่อความสวยงาม และอ่อนโยนต่อผิวมากขึ้น และสบู่สังเคราะห์ (Syndet Soap) เป็นสบู่ที่ผ่านกระบวนการหลายขั้นตอน เพื่อให้ได้ค่า pH 5.5 - 7 เหมาะกับทุกสภาพผิว
2. เจลล้างหน้า ลักษณะเป็นเจลใสคล้ายสบู่เหลว มีทั้งในรูปแบบของเจลมีฟองหรือไม่มีฟอง ใช้ชำระล้างสิ่งสกปรกและความมันบนใบหน้าได้ดี เหมาะกับคนผิวมัน
3. โฟมล้างหน้าเป็นรูปแบบคลีนเซอร์ที่ได้รับความนิยมอย่างมาก เพราะมีลักษณะเป็นโฟมนุ่ม ให้สัมผัสละมุนผิวสามารถล้างสิงสกปรกได้ดี
โทนเนอร์ (Toner)
โทนเนอร์ทำหน้าที่ขจัดสิ่งตกค้างบนรูขุมขนในขั้นตอนสุดท้าย และเตรียมความพร้อมให้ผิว สำหรับรับการบำรุงจากสกินแคร์ในขั้นตอนต่อไป จะมีลักษณะเป็นเนื้อโซลูชั่น จะมีทั้งแบบ โซลูชั่นแบบน้ำ (Aqueous Solution) โซลูชั่นแบบแอลกอฮอล์ (Hydroalcoholic Solution)
เอสเซนส์ (Essence)
เอสเซนส์หรือที่รู้จักกันดีว่า “น้ำตบ” เป็นผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้าในขั้นตอนแรก มีเนื้อสัมผัสของผลิตภัณฑ์ใกล้เคียงกับโทนเนอร์ มีลักษณะเป็นโซลูชั่นแบบน้ำ เพื่อให้ซึมเข้าสู่ผิวได้ง่าย
เซรั่ม (Serum)
เซรั่มเป็นผลิตภัณฑ์บำรุงผิวที่ใช้ต่อจากเอสเซนส์ โดยจะมีเนื้อเข้มข้นกว่า มีสารบำรุงอัดแน่นอยู่มากกว่า จึงมีประสิทธิภาพดูแลปัญหาผิวได้ดีกว่า ซึ่งเซรั่มส่วนใหญ่มักใช้สำหรับการแก้ปัญหาผิวแบบเฉพาะจุด สามารถมีลักษณะได้ทั้ง โซลูชั่น รวมถึงเนื้อเจล ก็ได้
อิมัลชั่น (Emultion)
อิมัลชั่น หรือเรียกง่ายๆ ว่า มอยเจอร์ไรซ์เซอร์ มีเนื้อบางเบาใกล้เคียงกับโลชั่น แบ่งตามลักษณะได้ 2 แบบ คือ อีมัลชั่นเนื้อครีม โดยมีความเข้มข้นมาก และอีมัลชั่นเนื้อโลชั่น จะมีความเข้มข้นน้อยกว่า เกลี่ยง่าย ช่วยเพิ่มความกระจ่างใส ไม่เหมาะกับคนที่มีลักษณะเป็นผิวมัน
โลชั่น (Lotion)
ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้าที่มีเนื้อเข้มข้นกว่าอิมัลชัน เพราะมีน้ำมันเป็นส่วนผสมอยู่มากกว่า โดยทั่วไปการใช้โลชั่น มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเคลือบผิวชั้นนอก ให้มีความชุ่มชื้น ลดการสูญเสียน้ำออกจากผิว เนื้อโลชั่นเกลี่ยง่าย
ครีม (Cream)
เป็นสกินแคร์ชนิดหนึ่งที่ได้รับความนิยมสูงสุด มีเนื้อเข้มข้นและมีส่วนผสมของน้ำมันอยู่เยอะที่สุด มีความเข้มข้นสูง สามารถคงความชุ่มชื้นให้ผิวได้นานกว่า
กันแดด (Sunscreen)
ครีมกันแดด เป็นผลิตภัณฑ์ที่ปกป้องผิวจากแสงแดด โดยใช้เป็นขั้นตอนสุดท้ายของการใช้สกินแคร์ในช่วงเช้า สำหรับผลิตภัณฑ์กันแดดนั้นมักจะส่วนผสมที่สามารถป้องป้องได้ทั้ง UVA และ UVB ซึ่งจมีทั้งในรูปแบบที่ดูดซับรังสี UV เอาไว้กับแบบที่สะท้อนรังสี UV ออกไป หรือที่รู้จักกันว่า Chemical sunscreen และ Physical sunscreen ลักษณะเนื้อของกันแดด อาจมีได้หลายแบบทั้งแบบสเปรย์ เนื้อโลชั่น เนื้อน้ำมัน รวมถึงเนื้อครีม เป็นต้น
นอกจากนี้ยังสามารถแบ่งลักษณะของเนื้อสกินแคร์ของกลุ่มผลิตภัณฑ์สกินแคร์หมวดอื่นๆ ได้ดังนี้
ผงแป้ง (Powder) สามารถแบ่งออกเป็น 2 แบบ
-แป้งฝุ่น (Loose Powder) ได้แก่ แป้งเด็ก แป้งปัดแต่งหน้าควบคุมความมัน
-แป้งตลับหรือแป้งอัดแข็ง (Compact Powder) โดยใช้แป้งฝุ่นมาอัดแน่นลงในตลับด้วยน้ำมันเพื่อให้พกพาง่าย ใช้สะดวก โดยอาจใส่เม็ดสีปรับสภาพผิวให้ดูสว่าง กระจ่างใส และช่วยปกปิดจุดบกพร่องใบหน้าได้เป็นต้น
เนื้อบาล์ม (Ointment)
เช่น บาล์มบำรุงผิว ขี้ผึ้ง หรือ ลิปแคร์
เนื้อแบบแท่ง (Stick)
เช่น ผลิตภัณฑ์ระงับกลิ่นกาย ลิปสติก อายครีมแบบแท่ง เป็นต้น
เนื้อซัสเพนชัน (Suspensions)
เช่น แป้งน้ำ คาลาไมด์ ยาทาเล็บ รองพื้น เป็นต้น
เนื้อสครับ (Pastes)
เช่น ยาสีฟัน หรือสครับมาส์กหน้า เป็นต้น