สารต้านอนุมูลอิสระ Antioxidant คืออะไร ช่วยปกป้องผิวเราจากแสงแดดอย่างไร

อ่านแล้ว 1 นาที
แสดงบทความเพิ่มเติม
สารต้านอนุมูลอิสระ Antioxidant

สารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant) คือ สารที่ช่วยปกป้องผิวจากสารอนุมูลอิสระที่เกิดจากแสงแดด โดยสามารถยับยั้งการเกิดปฎิกิริยาออกซิเดชั่น จากมลพิษต่าง ๆ รอบตัว หลายคนทราบดีว่า แสงแดดเป็นอีกหนึ่งสาเหตุหลักของปัญหาผิวหลายประการ แม้กิจกรรมไม่ได้เผชิญแสงแดด

ความสำคัญของสารต้านอนุมูลอิสระในครีมกันแดด

การเผชิญกับรังสี UV, visible light เป็นเวลานาน สามารถกระตุ้นให้มีการเพิ่มขึ้นของสารอนุมูลอิสระ (ROS: Reactive Oxygen Species), MMPs มีการทำร้าย DNA ที่เซลล์ผิวหนังได้ และเกิดฝ้า กระ รอยดำ ตามมา ในปัจจุบันจึงเห็นผลิตภัณฑ์ปกป้องผิวจากแสงแดดนิยมผสมสารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant) ลงไปด้วย ซึ่งมีข้อมูลพบว่า ผลิตภัณฑ์ปกป้องผิวจากแสงแดดที่มีการผสมสารต้านอนุมูลอิสระบางชนิดร่วมด้วยนั้น ส่งผลให้มีการเพิ่มประสิทธิภาพการป้องกันการทำร้ายผิวจากสารอนุมูลอิสระที่เกิดจากรังสียูวี และช่วยชะลอการเกิดผิวชราจากแสงแดด หรือที่เราเรียกว่า Photoaging ได้ดีกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับผลิตภัณฑ์ปกป้องผิวจากแสงแดดที่ไม่มีการผสมสารต้านอนุมูลอิสระ แม้ตามปกติร่างกายจะมีกลไกในการกำจัดอนุมูลอิสระได้เอง หากร่างกาย มีปริมาณอนุมูลอิสระที่มากเกินไป หรืออยู่ในสภาวะที่กำจัดอนุมูลอิสระได้ลดลง อาจเป็น สาเหตุให้เกิดความเสียหายต่อเซลล์ และนำมาซึ่งปัญหาต่างๆ ได้ สำหรับในระดับผิวหนัง จะเกิดเป็นปัญหา ฝ้า กระ จุดด่างดำ และริ้วรอยได้ไม่สิ้นสุด

สารอนุมูลอิสระ (Free radical) ทำลายผิวอย่างต่อเนื่อง

ปฏิกิริยาออกซิเดนซ์ คือ ปฏิกริยาที่เกิดขึ้นเป็นปกติในร่างกาย ซึ่งถูกกระตุ้นให้เกิดเพิ่มขึ้นได้ จากปัจจัยภายนอก เช่น การได้รับรังสียูวีจากแสงแดด มลภาวะ การรับประทานอาหารที่มี ไขมันประกอบสูง เป็นต้น อนุมูลอิสระจะเกิดเป็นปฏิกริยาลูกโซ่ ส่งผลเสียต่อเซลล์ในร่างกายอย่างต่อเนื่อง

 

ตัวอย่าง สารต้านอนุมูลอิสระ (Anti-oxidants) ที่ถูกหยิบยกขึ้นมากล่าวถึงว่าช่วยเสริมประสิทธิภาพในการกำจัดอนุมูลอิสระ ได้แก่

 

  1. Vitamin C (L-ascorbic acid) ตัวนี้สลายง่ายที่ค่า pH ปกติที่ผิวหนังเรา จึงเห็นมักผสมกับตัวอื่นเพื่อให้คงตัวมากขึ้น เช่น Vitamin E, Ferulic acid โดย vitamin C จะเป็น cofactor ในกระบวนการสร้างคอลลาเจนที่ผิวและลดการสะสมของอิลาสตินได้
  2. Vitamin E ช่วยลด lipid peroxidation, photoaging, immunosuppression และ photocarcinogenesis
  3. Polyphenols มักพบใน botanicals เช่น tea leaves, grape seeds (Vitis vinifera), blueberries, almond seeds, and pomegranate extract พวกนี้จะมีสารที่เรียกว่า epigallocatechin-3-gallate ซึ่งช่วยลด MMP-1 ตัวทำร้ายคอลาเจน และตัวมันเองสามารถเพิ่ม SPF ได้ด้วย
  4. Soy extracts มีข้อมูลว่า soybean-derived serine protease inhibitors ช่วยลดรอยดำ และริ้วรอยเล็ก ๆ ตื้น ๆ ที่ผิวได้
  5. Melatonin ช่วยปกป้องเซลล์ผิว keratinocytes, melanocytes, and fibroblasts และป้องกัน UV-induced photoaging ได้
  6. Licochalcone A เป็นสารสำคัญที่พบใน Glycyrrhiza inflata ซึ่งเป็น Chinese Licorice Root extract (รากชะเอมเทศ) ช่วยต้านอนุมูลอิสระ ลดการอักเสบ และยังช่วยยับยั้งในกระบวนการสร้างเม็ดสีผิวได้อีกด้วย
  7. Algae extract บางชนิดนอกจากพบว่าดูดซับรังสียูวีได้ ยังช่วยกำจัดสารอนุมูลอิสระที่ผิวได้ พบว่า Mycosporine-like amino acids (MAAs) จาก algae ยังเป็น potent UV filters โดย maximum absorption 310 และ 362 nm ทีเดียว นอกจากนั้นยังอาจได้ยินชื่อ เช่น Porphyra umbilicalis, Corallina pilulifera methanol extract แต่กลุ่มนี้ยังอาจมีประเด็นถกเถียงเรื่อง eco-friendly photoprotection คงต้องติดตามต่อไปในอนาคต

การปกป้องเซลล์ผิวด้วยสารต้านอนูมูลอิสระ

นอกจากกลุ่ม Anti-oxidants แล้วก็ยังมี Photolyases ที่ถูกนำมาผสมครีมกันแดด เพราะสามารถช่วยซ่อมแซม DNA ได้ ส่งผลให้มี photoprotective effects และยังช่วยต้านอนุมูลอิสระได้ด้วย อย่างไรก็ตาม การผสมสารเหล่านี้เข้าในครีมกันแดดแต่ละแบรนด์นั้นไม่ได้ทำให้ประสิทธิภาพออกมาดีเท่ากันเสมอไป จะดูแค่ว่ามีหรือไม่มีชื่อเหล่านี้ในส่วนผสมอาจไม่พอ เพราะยังคงต้องดูในรายละเอียดเรื่อง ความเข้มข้นที่มากพอ, ความสามารถในการซึมผ่านผิวชั้นและความคงตัวของผลิตภัณฑ์ปกป้องผิวจากแสงแดดตัวนั้นในที่สุดด้วยเช่นกัน

สุดท้ายแล้ว สิ่งที่สำคัญที่สุดของการใช้ผลิตภัณฑ์ปกป้องผิวจากแสงแดดสม่ำเสมอ นอกจากจะช่วยปกป้องผิวจากการทำร้ายด้วยรังสียูวี ชะลอผิวเสื่อมชราแล้ว ยังเป็นลดโอกาสการเกิดมะเร็งผิวหนังบางชนิดได้อีกด้วยค่ะ

 

บทความโดย พญ.วรายุวดี อมรภิญโญ (หมอเจี๊ยบ) อายุรแพทย์โรคผิวหนัง ผู้ก่อตั้งเวบไซต์ www.helloskinderm.com และ เฟสบุ๊คเพจ HELLO SKIN by หมอผิวหนัง

 

References

Am J Clin Dermatol 2021;819–828:22.

Photodermatol Photoimmunol Photomed. 2020 Mar;36(2):135-144.

ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง