สิวที่หู

ปัญหา สิวที่หู วิธีการรักษาและการป้องกัน

อ่านแล้ว 3 นาที
แสดงบทความเพิ่มเติม

สิวเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในทุกวัย และไม่เฉพาะบนใบหน้าเท่านั้น สิวอาจเกิดขึ้นในที่ต่างๆ ของร่างกาย รวมถึงที่หูก็สามารถเป็นได้ ซึ่งเป็นบริเวณที่ไม่ค่อยถูกสังเกตเห็น ซึ่งการเกิดสิวที่หูนั้นอาจทำให้ความรู้สึกไม่สบายใจและเกิดความรำคาญในการใช้ชีวิตพอสมควร หากสิวเกิดที่หูแล้วจึงควรรักษาอย่างถูกวิธี

รู้จักสาเหตุของการเกิดสิวที่หู

สิวที่หูเกิดจากการอุดตันของรูขุมขน โดยมีส่วนผสมของเซลล์ผิวหนัง เชื้อแบคทีเรีย และน้ำมัน (sebum) ซึ่งเป็นสารที่ผลิตโดยต่อมไขมัน (sebaceous gland) ทำให้เกิดเป็นตุ่มนูนขึ้นบริเวณใบหู หรือช่องหูชั้นนอก หรือสาเหตุภายนอกอย่างอื่น เช่น

  • อาบน้ำหรือเจอกับน้ำที่ไม่สะอาด
  • มีความเครียดมากเกินไปจนทำให้ฮอร์โมนเสียสมดุล
  • ใช้สิ่งของเครื่องใช้บริเวณหูร่วมกับผู้อื่นหรือใช้มาเป็นระยะเวลานานโดยไม่ได้ทำความสะอาด
  • แพ้ยาสระผม ครีมนวด หรือผลิตภัณฑ์ต่างๆ

สิวที่หูกับการบ่งบอกโรค

สิวที่หูอาจเป็นสัญญาณที่บ่งบอกถึงความผิดปกติหรือโรคที่เกิดขึ้นในร่างกายได้ แต่ไม่ใช่ทุกกรณีที่บ่งบอกว่าพอมีสิวที่หูแล้ว จะต้องมีโรคร้ายแรงเกิดขึ้น แต่หากมีอาการเหล่านี้ร่วมด้วย ควรทำการปรึกษาแพทย์ผิวหนังเพื่อตรวจสอบอาการที่แน่ชัด

  • สิวที่หูและอาการบวมร่วมด้วย หากสิวที่หูมีอาการบวม อาจเป็นเครื่องบ่งชี้ว่ามีการติดเชื้อที่มาจากแบคทีเรีย ซึ่งอาจเกิดขึ้นในที่หู หรือแม้แต่ขอบหู และสามารถระบายของเสียของเชื้อแบคทีเรียออกมาเป็นคราบหรือน้ำหนองร่วมด้วย
  • บางกรณีสิวที่หูอาจเป็นผลจากการติดเชื้อแบคทีเรียในผิวหนัง การติดเชื้อแบคทีเรียในผิวหนังอาจทำให้เกิดการอักเสบ การติดเชื้อในชั้นใต้ผิว (cellulitis) การติดเชื้อในกระดูก (osteomyelitis) การติดเชื้อในกระเพาะลม (mastoiditis) เป็นต้น
  • สิวที่หูอาจเป็นผลจากการแพ้อาหาร ยา ผลิตภัณฑ์สำหรับเส้นผม หรือเครื่องสำอางโดยอาจมีอาการแพ้อื่นๆ เกิดขึ้นร่วมด้วย เช่น ผื่นคัน บวม เป็นต้น

วิธีการรักษาสิวที่หู

สำหรับวิธีการรักษาสิวที่หูขึ้นอยู่กับความรุนแรงของสิว แต่โดยทั่วไปแล้ว ควรปฏิบัติตามขั้นตอนต่อไปนี้

  1. ไม่แกะเกาหรือบีบสิว เพราะอาจทำให้เกิดการติดเชื้อและแผลเป็น
  2. ทำความสะอาดรอบใบหู ด้วยสบู่อ่อนๆ และน้ำอุ่น
  3. ใช้ยารักษาสิว เช่น ครีมแต้มสิวที่มี Benzoyl Peroxide หรือ Salicylic Acid
  4. ใช้วิธีธรรมชาติ เช่น ที่ประคบร้อน
  5. ใช้ยาอนุพันธ์ของกรดวิตามินเอ หรือไอโซเตรติโนอิน ส่วนใหญ่จะใช้รักษาสิวหัวช้างที่อักเสบรุนแรง
 วิธีป้องกันสิวที่หู

วิธีป้องกันการเกิดสิวที่หู

  • ควรล้างหู อย่างน้อยวันละครั้งด้วยสบู่อ่อนๆ และน้ำอุ่นระหว่างอาบน้ำ เพื่อลดการสะสมของความมัน เหงื่อ เซลล์ผิวหนังที่ตาย และแบคทีเรีย
  • เปลี่ยนผ้าปูที่นอน ปลอกหมอน และผ้าเช็ดหน้า อย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง เพื่อไม่ให้เชื้อแบคทีเรียจากผ้าปูที่นอน ปลอกหมอนและผ้าเช็ดหน้าสะสมจนเป็นสาเหตุของสิว
  • รับประทานอาหารที่มีไขมันต่ำ เช่น ผัก ผลไม้ ธัญพืช และปลา และหลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง เช่น ขนมที่มีครีม ไอศกรีม แฮมเบอร์เกอร์ และเฟรนช์ฟราย
  • ดื่มน้ำเปล่าให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย เพื่อช่วยให้ผิวหนังชุ่มชื้นเพียงพอ
  • หลีกเลี่ยงการจับ หรือสัมผัสหูบริเวณที่เป็นสิวเพราะยิ่งกระตุ้นให้สิวอักเสบมากขึ้น
  • หมั่นทำความสะอาดอุปกรณ์ เช่น หูฟัง ต่างหู เครื่องประดับที่ใช้บริเวณหูให้สะอาดอยู่เสมอเพื่อลดการสะสมของแบคทีเรียสาเหตุของการเกิดสิวที่หูได้

สิวที่หูอาจเป็นสัญญาณที่บ่งบอกถึงความผิดปกติในร่างกาย แต่ก็ไม่ใช่ทุกกรณีที่จะมีสาเหตุมาจากโรคต่างๆ แต่อาจจะเกิดจากพฤติกรรมและการรักษาความสะอาดของเราเอง แต่ถ้าหากเกิดสิ่งปกติเกิดขึ้นมากกว่าสิวควรปรึกษาแพทย์เพื่อการวินิจฉัยและรับคำแนะนำในการรักษาอย่างถูกต้องและเหมาะสม ที่สำคัญควรดูแลเรื่องสุขภาพร่างกายและการใช้สิ่งประดับหูที่สะอาดเป็นสิ่งที่สำคัญในการป้องกันสิวที่หู

คำถามที่พบบ่อย (1)

  • สิวที่หู บีบได้ไหม

    ไม่ควรบีบสิว เพราะจะทำให้การติดเชื้อแพร่กระจายได้ หากมีการอักเสบเยอะควรพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อทำการรักษา

บทความเกี่ยวข้อง

ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง