แสงแดด

แสงแดด... ภัยร้ายที่ทําร้ายผิว

อ่านแล้ว 2 นาที
แสดงบทความเพิ่มเติม

แสงแดด...ส่งผลอย่างไรต่อร่างกายของเรา

แสงแดดเป็นศัตรูตัวฉกาจของผิว หลายคนจึงเลือกที่จะหลีกเลี่ยงแสงแดดโดย อยู่แต่ในที่ร่มไม่ว่าจะเป็นออฟฟิศ บ้าน หรือห้างสรรพสินค้า แต่ไม่รู้ทําไมผิวยัง คล้ําเสียเกิดจุดด่างดํา ฝ้า กระ ตามมา

ภัยร้ายของแสงแดด

  • ทําให้เกิดอาการผิวไหม้ แดง แสบร้อน
  • ผิวคล้ำ ส่งผลต่อการเกิดฝ้า กระ จุดด่างดํา
  • ผิวแห้งกร้าน แก่ก่อนวัย
  • ก่อให้เกิดโรคมะเร็งผิวหนังได้ในระยะยาว
แสงแดด ทำร้ายผิว

ภัยที่เกิดจากรังสียูวีในแสงแดด

โดยรังสี UV แบ่งออกได้เป็น 3 ชนิด ซึ่งส่งผลต่อผิวหนัง ในรูปแบบที่แตกต่างกัน ดังต่อไปนี้

รังสี UVA : มีส่วนในการทําลาย DNA ของเซลล์ผิวหนังก่อให้เกิดผลเสีย ระยะยาว ที่สําคัญรังสียูวีเอยังสามารถทะลุกระจกได้ จึงก่อให้เกิด

  • รอยเหี่ยวย่นก่อนวัย
  • ผิวดำคล้า
  • เป็นสาเหตุของการเกิดมะเร็งผิวหนัง

รังสี UVB : ไม่สามารถส่องผ่านกระจก หรือเมฆหนา ๆ ได้ แต่ยังส่งผลกระทบ ต่อผิวหนังได้ดังนี้

  • ทําให้ผิวหนังแดงไหม้
  • ทําให้เกิดความคล้ำของผิว
  • เสี่ยงต่อมะเร็งผิวหนังได้ถ้าหากผิวไหม้จากแดดบ่อย ๆ

รังสี UVC : เป็นแสงที่ถูกกรองโดยชั้นโอโซน ไม่ผ่านลงมาบนพื้นผิวโลก แต่ก็สามารถทําให้เกิดปัญหาต่อผิวหนังได้

แนวทางการปกป้องผิวจากแสงแดด

  • หลีกเลี่ยงการออกแดดในเวลาที่แดดจัด คือช่วงเวลา ประมาณ 11.00-14.00 น. ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่แสงแดดมี รังสียูวีบี (UVB) มีปริมาณสูงสุด
  • สวมใส่เสื้อผ้าที่มีสีเข้ม ทึบ เนื้อผ้าทอแน่นหนา สวมหมวก ปีกกว้าง และสวมแว่นตากันแดด
  • ทาครีมกันแดดในปริมาณที่มาก หนาเพียงพอ และควรเริ่มทาครีมกันแดดก่อนออกแดด 15 นาที และทาซ้ำทุก 2 ชั่วโมง หากอยู่กลางแดดเป็นเวลานาน ๆ

ประเภทของครีมกันแดด

ครีมกันแดด แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่ ครีมกันแดดที่ใช้คุณลักษณะทางเคมี และครีมกันแดดที่ใช้คุณลักษณะทางกายภาพ โดยสามารถอ่านฉลากของ ครีมกันแดดที่เลือกใช้ และรู้ข้อมูลผลิตภัณฑ์ได้ทันที


ครีมกันแดดที่ใช้คุณลักษณะทางเคมี (Chemical Sunscreen)

  • ครีมกันแดดที่เน้นการดูดซับรังสียูวี
  • อาจทําให้เกิดการแพ้ต่อผิวหนังได้มากกว่า

ตัวอย่างสารออกฤทธิ์ เช่น

รังสี UVA

  • Oxybenzone
  • Dioxybenzone
  • Avobenzone
  • Mexoryl SX

รังสี UVB

  • PABA
  • Octyl Methoxycinnamate
  • Octyl Salicylate

ครีมกันแดดที่ใช้คุณลักษณะทางกายภาพ (Physical Sunscreen)

  • ครีมกันแดดที่สามารถสะท้อนรังสียูวี ทั้ง รังสี UVA, UVB และ แสงสีฟ้าหรือ High energy visible light (HEVIS) ได้ด้วยตัวอนุภาคของมันเอง
  • ไม่ก่อการแพ้ให้กับผิวหนัง
  • ทามากเกินไปจะอุดตันรูขุมขน ก่อให้เกิดสิวอุดตันได้
  • ทาแล้วทําให้หน้าขาว

ตัวอย่างสารออกฤทธิ์ เช่น

  • ไททาเนียมไดออกไซด์ (Titanium Dioxide)*
  • สังกะสี/ซิงค์ออกไซด์ (Zinc Oxide)*

*ที่ไม่ใช่ Nanoparticle


วิธีการเลือกครีมกันแดด

  1. ควรเลือกครีมกันแดดที่ช่วยปกป้องผิวได้อย่างครอบคลุม (Broad-Spectrum)
    ช่วยปกป้องผิวจากรังสี UVA รังสีUVB โดยครีมกันแดดที่มีค่า SPF สูงจะปกป้องผิวจากแสงแดดได้มาก ไม่ควรเลือกครีม กันแดดที่มีค่า SPF ต่ากว่า 15
  2. ควรเลือกครีมกันแดดที่กันน้ําได้ (Water Resistant) ในกรณีที่ กิจกรรมเหงื่อออกมาก
    โดยครีมกันแดดชนิดนี้จะช่วยปกป้องผิวจากแสงแดดระหว่างที่ทํากิจกรรมที่เหงื่อออกมาก ควรทาครีมกันแดดช้าอย่างน้อย ทุก 2 ชั่วโมง หรือมากกว่านั้นหากยังทํากิจกรรมนั้นอยู่
  3. ควรเลือกครีมกันแดดที่มีส่วนประกอบที่ปลอดภัย
    เด็ก และผู้ที่มีปัญหาผิวหนังควรเลือกผลิตภัณฑ์ที่สะท้อนรังสี ยูวีได้ เช่น ผลิตภัณฑ์กันแดดตามลักษณะทางกายภาพ (physical sunscreen) ที่ผสมไททาเนียมไดออกไซด์ (Titanium Dioxide หรือชิงก์ออกไซด์ (Zinc Oxide)
  4. ควรเลือกผลิตภัณฑ์ที่ไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อแนวปะการัง
    ไม่มีส่วนผสมของ Oxybenzone (Benzophenone-3, BP-3), Octinoxate (Ethylhexyl methoxycinnamate), 4-Methyl- benzylid Camphor (4MBC), Butylparaben

การทากันแดด อย่างมีประสิทธิภาพใน 4 ขั้นตอน

  1. ใช้กันแดดในปริมาณที่เหมาะสม
    ควรใช้ประมาณ 1 ช้อนชา หรือสองข้อนิ้วมือ สําหรับทาหน้า และ ลําคอ แนะนําให้แบ่งทา 2 รอบ โดยใช้ยากันแดดแต่ละครั้งประมาณ หนึ่งข้อนิ้วมือ
  2. ากต้องมีกิจกรรมกลางแดดต่อเนื่องที่ต้องโดนน้ําหรือมีเหงื่อ
    ควรเลือกยากันแดดชนิดกันน้ํา และควรทายากันแดดเพิ่มทุก 2 ชั่วโมง
  3. ทายากันแดดก่อนสัมผัสแดด 15 นาที
  4. ควรทายากันแดดเป็นประจําสม่ําเสมอ
    ควรทายากันแดดเป็นประจําทุกวัน เพื่อป้องกันความเสื่อม ของผิวหนังจากแสงแดดได้

มีการศึกษาการใช้ผลิตภัณฑ์กันแดด พบว่า โดยส่วนใหญ่มีการใช้ผลิตภัณฑ์กันแดด ไม่เพียงพอในหลายๆส่วนของร่างกายที่ทําให้ ผิวหนังโดนแดดโดยไม่ได้รับการปกป้อง


บริเวณผิวหนังที่กว้างมักจะไม่ได้รับการปกป้องด้วยผลิตภัณฑ์ กันแดด รวมถึงบริเวณ เท้า มือ หลังแขน ที่บริเวณขอบชุดว่ายน้ํา และหลังส่วนบน พ่อแม่ส่วนใหญ่มักจะไม่ได้ทาผลิตภัณฑ์กันแดด ให้ลูกที่บริเวณหน้า คอ และเท้า นอกจากนี้ พ่อแม่ส่วนใหญ่มักทา ครีมกันแดดน้อยกว่า 2 ข้อนิ้ว สําหรับบริเวณใบหน้าและคอ

เกร็ดควรรู้

มาตรฐานการป้องกันของครีมกันแดดที่เรา จะได้ยินบ่อย ๆ คือ SPF ควรเลือกที่มีค่าสูง เพราะ ป้องกัน รังสี UVB ได้ยาวนานกว่า และได้รับการ รับรองมาตรฐาน COLIPA ซึ่งบอกถึงประสิทธิภาพ ในการป้องกันรังสี UVA โดยปัจจุบันครีมกันแดด ไม่เพียงแต่ต้องป้องกันรังสี UVA, UVB ครีมกันแดด ที่ดีควรเสริมการปกป้องผิวจากการทําร้ายของอนุมูลอิสระที่เกิดจากแสงแดด คือกลุ่มของสาร แอนตี้ออกซิเดนท์ เช่น สาร Licochalcone A เพื่อช่วย เสริมเกราะปกป้องผิวจากแสงแดด ทําให้เกิดประสิทธิภาพกันแดดแบบ Broadband Filter ที่กันได้แม้แสง Visible Light อีกด้วย

แสงที่มองเห็นด้วยตาเปล่า อันตรายจริงหรือไม่?

มีการศึกษาพบว่าแสงสีฟ้า หรือ High Energy Visible Light (HEVIS) กระตุ้นให้เกิด อนุมูลอิสระ และทําให้เกิดผิวคล้ําขึ้นได้หากได้รับร่วมกับรังสิ UVA

การหลบแดดอยู่แต่ในที่ร่มอาจไม่ใช่ตัวเลือกที่ดีเสมอไป เนื่องจากรังสี UVA และ High Energy Visible Light ยังตาม มาทําร้ายผิวเราได้ เนื่องจากสามารถส่องผ่านกระจกได้ ครีม กันแดดจึงเป็น สิ่งที่จําเป็นอย่างมากในการดูแลปกป้องผิว

ที่ปรึกษาโดย ศ.คลินิก พญ. ณัฏฐา รัชตะนาวิน

 

เอกสารอ้างอิง

  1. Elsner P, Hölzle E, Diepgen T. Recommendation: Daily sun protection in the prevention of chronic Uvinduced skin damage. JDDG. 2007; 2:166-173.
  2. Deleo VA. Sunscreen. In: Bolognia JL, Jorizzo JL, Rapini RP, et al, editors. Dermatology. 2nd ed. Spain: Mosby. 2008:2035-2041.
  3. Anderson MW, Hewitt JP, Spruce SR. Broad-spectrum physical sunscreen: titanium dioxide and zinc oxide. In: Lowe JN, Shaath N, Pathak M, editors. Sunscreens,development, evaluation, and regulatory aspects. New York: Marcel Dekker; 1997:353-97.
  4. Dunford R, Salinaro A, Cai L, Serpone N, Horikoshi S, Hidaka H, et al. Chemical oxidation and DNA damage catalysed by inorganic sunscreen ingredients. FEBS Lett. 1997;418:87-90.
  5. Rajatanavin N, Suwanachote S, Kulkollakarn S. Pharmacology and therapeutics Dihydroxyacetone: a safe camouflaging option in vitiligo. Int J Dermatol. 2008;47:402-406
  6. Hexsel CL, Bangert SD, Hebert AA, Lim HW. Current sunscreen issue: 2007 Food and drug Administration sunscreen Labelling recommendations and combination sunscreen/insect repellent products. J Am Acad Dermatol. 2008;59:317-23.
  7. Hodes LE, Diffey BL, Fluorescence spectroscopy: a rapid, noninvasive method for measurement of skin surface thickness of topical agent. Br J Dermatol. 1997;136:12-7.

บทความเกี่ยวข้อง